ขน
มนุษย์ทุกคนมีขน 85,000 – 150,000 เส้น โดยคนที่มีขนสีบลอนด์จะมีจำนวนขนมากที่สุด ในขณะที่คนมีผมสีแดงมีจำนวนขนน้อยที่สุด ขนแต่ละเส้นหนาประมาณ 0.08 มิลลิเมตร และยาวขึ้นในราว 0.1 – 0.2 มิลลิเมตรต่อวัน รวมแล้วจะได้ขนยาว 30 เมตรและเนื้อเยื่อขนขนาด 6 ตารางเซนติเมตร ร้อยละ 90 ของขนคือเคราติน และมันจะผุดชี้ขึ้นจากรากที่อยู่ในรูขุมขน ในช่วง 2 ถึง 6 ปีรากขนจะสร้างสารใหม่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตผมยาว 80 เซนติเมตร จากนั้นจะมีระยะพักตัวนานสองสัปดาห์ก่อนที่รากจะเริ่มสร้างขนเส้นใหม่ซึ่งจะผลักขนที่มีอยู่ก่อนขึ้นมาทางผิวหนังจนกระทั่งหลุดร่วงไป
ไฮโดรไลปิด ฟิล์ม (Hydrolipid film)
เกราะคุ้มกันผิวตามธรรมชาติ (The skin’s natural protective acid mantle หรือ acid mantle) ที่ค่า pH 5.5 เปรียบเสมือนเป็นภูมิคุ้มกันของผิวหนังที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการปกป้องผิว ให้คงความเป็นผิวที่มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ซึ่งองค์ประกอบหลักของเกราะคุ้มกันผิวตามธรรมชาติ จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ
1. ไฮโดรไลปิด ฟิล์ม (Hydrolipid film) เป็นชั้นฟิล์มบางๆ ปกคลุมอยู่บริเวณชั้นนอกสุดของผิว ซึ่งเป็น ส่วนประกอบหลักของ เกราะคุ้มกันผิวตามธรรมชาติ (Acid mantle) โดยไฮโดรก็คือ น้ำ ซึ่งได้จากต่อมเหงื่อ และไลปิด ก็คือ ไขมัน ซึ่งได้จากต่อมไขมัน ไฮโดรไลปิด ฟิล์ม มีหน้าที่หลักๆ คือปกป้องผิวไม่ให้น้ำระเหยออกจากผิว ทำให้ผิวคงความชุ่มชื่นเอาไว้ ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยไม่ให้มลภาวะ หรือสิ่งแปลกปลอมจากสิ่งแวดล้อมภายนอกมา สัมผัสกับผิวได้โดยตรง ทำให้ผิวไม่เกิดการระคายเคือง
2. เชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น(Microflora) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่กันอย่างสมดุล โดยไม่ก่อให้เกิดโรค ภายใต้สภาวะความเป็นกรดอ่อนๆ ที่ค่า pH 5.5 ซึ่งภายใต้สภาวะแวดล้อมนี้ เชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ไม่ก่อให้เกิด โรค จะคอยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้ออื่นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้
3. สารให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวตามธรรมชาติ (Natural Moisturizing Factors :NMF) เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ หลายๆ ชนิด ที่จำเป็นต่อการคืนความชุ่มชื่นให้กับผิว ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่ไม่สามารถ สร้างได้เพียงพอต่อความต้องการของผิว จึงทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื่นอยู่บ่อยครั้ง หรือทุกครั้งที่อาบน้ำ
ผิวหนังชั้นบนสุด (Stratum corneum)
ผิวหนังชั้นบนสุด (Stratum corneum) หนาประมาณ 0.02 มิลลิเมตร เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว (corneocyte) และสารที่เป็นไขมันซึ่งอยู่ตรงกลาง (intercellular lipid) ผิวหนังชั้นนี้เป็นตัวสร้างผิวหนังชั้นบนสุดที่หนาเพียง 0.02 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียน้ำ (dehydration) และสารระคายเคือง สารก่อภูมิแพ้ และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค
ชั้นหนังแท้ (dermis)
เป็นเนื้อเยื่อเชื่อมโยงแบบยืดหยุ่นหนาประมาณ 1 มิลลิเมตร ประกอบด้วยระบบหลอดเลือด อวัยวะรับความรู้สึกและเส้นประสาท รูขุมขน ต่อมไขมัน และต่อมเหงื่อก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในชั้นหนังกำพร้าและมีรากฐานอยู่ในชั้นหนังแท้ ความยืดหยุ่นเกิดจากคอลลาเจนที่แข็งแกร่ง เส้นใยที่ยืดหยุ่น บวกกับโมเลกุลสารพื้นฐานที่ชุ่มชื่นมาก (glycosaminoglycans) ที่มีอยู่ องค์ประกอบทั้งสามประการนี้สร้างขึ้นจากเซลล์เนื้อเยื่อเชื่อมโยง (fibroblast) รูปลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่างๆ เกิดจากวัยที่สูงขึ้น (ริ้วรอย ผิวหย่อนคล้อย ไม่สดใส) มีผลมาจากการฉีกขาดและการยึดติดของเส้นใย รวมทั้งการสูญเสียความสามารถของฐานรากในการดูดซับความชุ่มชื่นต่อมเหงื่อ (sweat glands)
ต่อมเหงื่อเหล่านี้ผลิตสารคัดหลั่งซึ่งมาจากน้ำร้อยละ 98 รวมกับสิ่งที่ได้จากกระบวนการเผาผลาญและเกลือซึ่งช่วยสร้างความเย็นให้กับผิวด้วยกระบวนการระเหย จึงมีความสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เหงื่อที่เพิ่งออกจากร่างกายจะมีกลิ่นที่เป็นกลาง แต่จะกลายเป็นกลิ่นตัวอันไม่พึงประสงค์เมื่อรวมกับแบคทีเรียบนผิวหนัง สารคัดหลั่งที่เกิดจากต่อมมีกลิ่น (ต่อมเหงื่อ apocrine) ซึ่งสามารถพบได้ในบางส่วนของร่างกายก็มีส่วนในการสร้างกลิ่นตัวด้วย เหงื่อมีความเป็นกรดอ่อนๆ และเป็นส่วนหนึ่งของ ไฮโดรไลปิด ฟิล์ม ที่เป็นส่วนประกอบหลักของสภาพความเป็นกรดอ่อนๆ ของผิวที่ทำหน้าที่เป็นปราการปกป้องตามธรรมชาติในการปกป้องผิว
ต่อมไขมัน (Sebaceous glands)
ต่อมเหล่านี้สร้างสารที่เป็นไข (sebum) ซึ่งช่วยปกป้องและทำให้ผิวหนังและขนเนียนเรียบ กระบวนการดังกล่าวควบคุมด้วยฮอร์โมน (androgens) สารที่เป็นไขนี้มีค่า pH เป็นกรดอ่อนๆ และเป็นส่วนหนึ่งของสภาพความเป็นกรดอ่อนๆ ของผิวที่ทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกันผิวตามธรรมชาติในการปกป้องผิวชั้นไขมัน (มีความหนาได้มากถึง 10 เซนติเมตร)
ทำหน้าที่ปกคลุมอวัยวะต่างๆของร่างกายด้วยความหนาสูงสุดถึง 10 เซนติเมตร สารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายได้รับและไม่ได้ถูก เผาผลาญให้เป็นพลังงานก็จะถูกกักเก็บไว้ในรูปของไขมันอยู่ในชั้นไขมันนี้ และจะมีการนำมาใช้ในยามที่ร่างกายมีความจำเป็นไขมันที่เก็บกักอยู่นี้จะทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกและเป็นฉนวนเพื่อควบคุม อุณหภูมิความร้อนให้กับร่างกายผิวหนังทั้งหมด
- มีพื้นที่ 1.5 – 2 ตารางเมตร
- หนา 0.1 ถึงสุดสุด 10 เซนติเมตร
- น้ำหนัก 10 – 20 กิโลกรัม
ต่อตารางเมตร
- มีเซลล์ประมาณ 6 ล้านเซลล์
- มีประสาทสัมผัสประมาณ 5,000 ปลายประสาทสัมผัส
- มีเส้นประสาทประมาณ 400 เซนติเมตร
- มีประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดประมาณ 200 ประสาท
- มีเส้นเลือดยาวประมาณ 100 เมตร
- มีต่อมเหงื่อประมาณ 100 ต่อม
- มีต่อมไขมันประมาณ 15 ต่อม
- มีประสาทรับความเย็นประมาณ 12 ปลายประสาท
- มีขน 5 เส้น
- มีประสาทรับความรู้สึกร้อน 2 ประสาท
หน้าที่ของผิวหนัง
ปกป้อง
ป้องกันการขาดน้ำ ความร้อน ความเย็น รังสี มลพิษ สารระคายเคือง สารก่อภูมิแพ้ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ป้องกันการกระแทกและการฉีกขาดความรู้สึก
รับความรู้สึกร้อน เย็น สัมผัส รูปร่างและผิวสัมผัส และความเจ็บปวดสัญญาณต่างๆ
แสดงความรู้สึกภายใน (หน้าแดง หน้าซีดเผือด ขนลุกชัน)Cr.sebamedthai.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น